เทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร
วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556
บทความเรื่อง เทคโนโลยีสมัยใหม่
บทความเรื่อง เทคโนโลยีสมัยใหม่
การพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายใต้บริบท ที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกัน ในลักษณะ เศรษฐศาสตร์เครือข่าย หรือที่เรียกว่า ( networked economy) มีการเปลี่ยนแปลง เคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็ว (เพียงแค่กดเม้าส์ของคอมพิวเตอร์) เสมือนดังไม่มีพรมแดนของประเทศ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างความสัมพันธ์ ทาง เศรษฐกิจ การเมือง สังคม ระหว่างประเทศ การพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศ ส่งผลให้โลกมีสภาพ เหมือนเป็นหนึ่งเดียว มีการแข่งขันสูงผลกระทบในวงกว้าง ( systemic and dynamism ) ต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนที่ทำไห้ทรัพยากรมนุษย์เกิดการปรับตัวพัฒนาให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่อยู่ในโลกเศรษฐกิจใหม่ของสังคมอุดมปัญญา (Knowledge Based Economy) กลายเป็นศัพท์ที่ต้องคิด ของคนใน สหัสวรรษที่ 21
เทคโนโลยีได้เข้าไปมีบทบาทต่อวิถีชีวิตผู้คนและสังคมในรูปแบบต่าง ๆ กล่าวคือ
1. ด้านการศึกษา
มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยสอน (CAI) โดยทำเป็นสื่อประสม (Multimedia) มีระบบการเรียนการสอนทางไกล(Tele-Education) มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น นักเรียน นักศึกษา ได้มีโอกาสเรียนรู้และปฏิบัติจริงได้มากขึ้น สำหรับโรงเรียนมัธยม ก็มีการจัดการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ โดยกำหนดให้เป็นรายวิชาเลือก ในระดับวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัย มีเปิดสอนสาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะ เพื่อผลิตบุคลากร สนองความต้องการของตลาด ในยุคปัจจุบัน
2. ด้านการแพทย์
เริ่มตั้งแต่การจัดทำประวัติคนไข้ ไปจนถึงการออกใบเสร็จรับเงิน การพิมพ์ฉลากยา ก็ยังใช้ระบบคอมพิวเตอร์ โดยจะพิมพ์ใส่กระดาษกาวไว้ก่อน เมื่อจะส่งให้คนไข้ก็ติดที่ขวดหรือถุงยา จะได้ไม่ผิดพลาดในการให้ยาตรงตามแพทย์สั่ง บางแห่งให้แพทย์สั่งยาผ่านระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อลดความผิดพลาดในการตีความหมายจากลายมือของแพทย์ นอกจากนี้บางแห่งยังมีการรักษาทางไกลโดยผ่านดาวเทียมสื่อสารความเร็วสูง ที่แพทย์ต่างประเทศ สามารถมองเห็นคนไข้ ในประเทศไทย และให้คำแนะนำ ในการรักษาผ่าตัดทันที แต่ไม่เป็นที่นิยม เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก
3. ด้านการธนาคาร
มีการให้บริการฝาก-ถอนเงิน โอนเงิน ซึ่งมีมานานแล้ว และในปัจจุบันนี้เริ่มมีระบบ e-banking โดยสามารถใช้โทรศัพท์มาทำรายการที่ธนาคารได้ ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางมาที่ธนาคาร นอกจากนี้ ให้บริการบัตรเครดิต อีกหลากหลายประเภท ซึ่งสามารถถอนเงินที่ตู้ ATM ที่ใดก็ได้ แม้ในต่างประเทศ ก็สามารถถอนเงินได้ ไม่ต้องพกเงินจำนวนมาก ไปเที่ยวต่างประเทศ ในอนาคตอันใกล้นี้จะมีธนาคารบางแห่ง
ที่ผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นชาวประเทศ จะนำเอาระบบธนาคารอิเล็กทรอนิสก์ มาใช้เต็มรูปแบบโดยให้บริการฝาก-ถอน-โอนเงินด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ซึ่งในต่างประเทศได้มีใช้กันมานานแล้ว
4. ด้านห้องสมุด
การให้บริการยืม-คืนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ จะเป็นลักษณะที่ต้องยืมผ่านเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ ซึ่งจะป้อนข้อมูลการยืม เข้าไป หรือใช้เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar code) และเมื่อคืนหนังสือก็ต้องผ่านเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์เช่นเดิม หลายแห่ง เปลี่ยนมาใช้การฝังแถบแม่เหล็กเข้าไปในหนังสือ และมีเครื่องตรวจจับหนังสือที่ถูกนำออกห้องสมุดโดยที่ยังไม่ถูกยืม เพื่อป้องกัน หนังสือสูญหาย สำหรับในต่างประเทศ เช่น ประเทศออสเตรเลีย ห้องสมุดบางแห่ง ให้บริการยืมหนังสือ ผ่านเครื่อง ยืมหนังสือ คือผู้ยืมสามารถสืบค้นหนังสือได้ทั้งในสถาบันและนอกสถาบัน เมื่อรู้ตำแหน่งที่เก็บหนังสือแล้วไปนำหนังสือ ผ่านเครื่องยืมหนังสือ เวลาคืนก็นำมาใส่ในตู้รับหนังสือ จะมีเจ้าหน้าที่นำไปเข้าเครื่องอ่านแถบแม่เหล็กที่ฝังอยู่ในหนังสือ มีการ ให้บริการสืบค้นข้อมูลบน CD-ROM บนระบบ Internet ห้องสมุดหลายแห่งได้ลงทุน ของเช่าฐานข้อมูลที่สำคัญ เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการ ห้องสมุด โลกปัจจุบันนี้ "ข้อมูลขายได้" ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศจึงทำให้เกิด ห้องสมุดเสมือนจริง Visual Library และยังมีพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง Visual Museum ทำให้ภาพของจริงในทุกมุมมอง โดยไม่ต้องจับต้องของจริง
5. ด้านการรถไฟแห่งประเทศไทย
แต่เดิมจะไม่สะดวกกับผู้ซื้อเพราะซื้อตั๋วที่ไหนจะต้องขึ้นรถไฟที่นั่น แต่ในปัจจุบันมีบริการซื้อตั๋วด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถจะซื้อตั๋วที่สถานีใดก็ได้ กำหนดสถานีต้นปลายทาง ปลายทางได้อย่างอิสระ สามารถซื้อตั๋วล่วงหน้าได้มากกว่าเดิม และมีบริการเสริมขึ้นมากมาย เช่น สามารถคืนตั๋วก่อนออกเดินทางที่สถานีใดก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจสอบที่นั่ง ว่าว่างหรือไม่ว่าง ทำได้ทันที ทำให้ไม่เกิดการซื้อตั๋วซ้อนกัน ช่วยลดความผิดพลาดได้มาก และเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ในการให้บริการ
6. ด้านธุรกิจ
บริษัท ห้างร้านส่วนใหญ่ต้องการบุคลากรที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ทั่วไป ระดับผู้ใช้งานโปรแกรม (Users) ซึ่งจะต้องใช้โปรแกรมที่มีใช้ในสำนักงานได้ เช่น โปรแกรมพิมพ์เอกสาร
(Word Processor) โปรแกรมตารางการทำงาน (Speedsheet) โปรแกรมนำเสนองาน (Presentation) และโปรแกรมสนับสนุนอื่นๆ บางแห่งต้องการเฉพาะทางเช่น นักเขียนโปรแกรม (Programmer) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) นักควบคุมระบบ (Administrator) นักคอมพิวเตอร์กราฟฟิค (Computer Graphic) เป็นต้น
จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดตั้งแต่ต้น คงพอสรุปได้ว่าเทคโนโลยีสาระสนเทศ มีความสำคัญทั้งในปัจจุบันและอนาคตข้างหน้า เทคโนโลยีสารสนเทศได้กระจายองค์ความรู้ไปทุกพื้นที่ในโลก ขึ้นอยู่กับใครสามารถเข้าถึงข้อมูลเร็วกว่าหาข้อมูลได้มากว่ากัน นอกเนื้อจากนั้น จะต้องสามารถเลือกและวิเคราะห์ข้อมูล ที่จะนำมาปรับใช้เป็นองค์ความรู้ สังเคราะห์เพื่อตัดสินใจแก้ปัญหาจนเกิดเป็นปัญญาที่ สะสมไว้ในตัวคน และถ้าทุกคนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันก็จะสามารถเป็นสังคมอุดมปัญญาในองค์กร เพื่อแก้ปัญหา และตัดสินใจได้เร็วขึ้น เป็นจุดที่สำคัญที่จะทำให้คนและองค์กรนั้นๆเก่งกว่ากัน หรือเหนือกว่ากัน หรือช่วงชิงในทุกๆเรื่องได้ก่อนใคร
แหล่งอ้างอิง
“เทคโนโลยีสารสนเทศกับสังคมยุคดิจิตอลและยุคปัญญาเลิศ.” [online]. เข้าถึงได้จาก http://pibu12.
psru.ac.th/~somman/work1.doc. (2551, พฤศจิกายน 20)
สาคร แสงผึ้ง. เทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนที่ควรจะเป็น [online]. เข้าถึงได้จาก: http://www.
nitesonline.net/warasan/13_sakorn.doc. (2551, พฤศจิกายน 20)
วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556
การเขียนผังงาน
|
เนื้อหา • การเขียนผังงาน ( Flowchart ) • ผังงานกับชีวิตประจำวัน • โครงสร้างการทำงานแบบมีการเลือก ( Selection ) • โครงสร้างการทำงานแบบมีการทำงานซ้ำ การเขียนผังงาน ( Flowchart )ผังงาน คือ แผนภาพที่มีการใช้สัญลักษณ์รูปภาพและลูกศรที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหรือระบบทีละขั้นตอน รวมไปถึงทิศทางการไหลของข้อมูลตั้งแต่แรกจนได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการประโยชน์ของผังงาน• ช่วยลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม และสามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้โดยไม่สับสน • ช่วยในการตรวจสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย เมื่อเกิดข้อผิดพลาด • ช่วยให้การดัดแปลง แก้ไข ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว • ช่วยให้ผู้อื่นสามารถศึกษาการทำงานของโปรแกรมได้อย่างง่าย และรวดเร็วมากขึ้น วิธีการเขียนผังงานที่ดี• ใช้สัญลักษณ์ตามที่กำหนดไว้ • ใช้ลูกศรแสดงทิศทางการไหลของข้อมูลจากบนลงล่าง หรือจากซ้ายไปขวา • คำอธิบายในภาพควรสั้นกระทัดรัด และเข้าใจง่าย • ทุกแผนภาพต้องมีลูกศรแสดงทิศทางเข้า - ออก • ไม่ควรโยงเส้นเชื่อมผังงานที่อยู่ไกลมาก ๆ ควรใช้สัญลักษณ์จุดเชื่อมต่อแทน • ผังงานควรมีการทดสอบความถูกต้องของการทำงานก่อนนำไปเขียนโปรแกรม ผังงานโปรแกรม ( Program Flowchart )การเขียนผังโปรแกรมจะประกอบไปด้วยการใช้สัญลักษณ์มาตรฐานต่าง ๆ ที่เรียกว่า สัญลักษณ์ ANSI ( American National Standards Institute ) ในการสร้างผังงาน ดังตัวอย่างที่แสดงในรูปต่อไปนี้
รูปที่1 แสดง สัญลักษณ์ในการเขียนผังงานโปรแกรม
ผังงานกับชีวิตประจำวันการทำงานหลายอย่างในชีวิตประจำวัน จะมีลักษณะที่เป็นลำดับขั้นตอน ซึ่งก่อนที่ท่านจะได้ศึกษาวิธีการเขียนผังงานโปรแกรม จะแนะนำให้ท่านลองฝึกเขียนผังงานที่แสดงการทำงานในชีวิตประจำวันวันก่อนเพื่อเป็น การสร้างความคุ้นเคยกับสัญลักษณ์รูปภาพต่าง ๆ ที่จะมีใช้ในผังงานโปรแกรมต่อไป ดัง ตัวอย่าง 1 เขียนผังงานที่แสดงขั้นตอนการส่งจดหมาย
รูปที่ 2 แสดงการเขียนผังงานที่แสดงขั้นตอนการส่งจดหมาย
ตัวอย่างที่ 2 เขียนผังงานแสดงวิธีการรับประทานยา ที่แบ่งขนาดรับประทานตามอายุของผู้ทานดังนี้
• อายุมากกว่า 10 ปี รับประทานครั้งละ 2 ช้อนชา • อายุมากกว่า 3 ปี ถึง 10 ปี รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา • อายุมากกว่า 1 ปี ถึง 3 ปี รับประทานครั้งละ 1/2 ช้อนชา • แรกเกิดถึง 1 ปี ห้ามรับประทาน รูปที่ 3 แสดงการเขียนผังงานแสดงวิธีการรับประทานยา
โครงสร้างการทำงานแบบมีการเลือก ( Selection )เป็นโครงสร้างที่ใช้การตรวจสอบเงื่อนไขเพื่อการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยโครงสร้างแบบนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ IF - THEN - ELSE และ IF - THEN
รูปที่4 แสดงโครงสร้างผังงานแบบมีการเลือก
โครงสร้างแบบ IF - THEN - ELSE เป็นโครงสร้างที่จะทำการเปรียบเทียบเงื่อนไขที่ใส่ไว้ในส่วนหลังคำว่า IF และเมื่อได้ผลลัพธ์จากการเปรียบเทียบก็จะเลือกว่าจะทำงานต่อในส่วนใด กล่าวคือถ้าเงื่อนไขเป็นจริง ( TRUE ) ก็จะเลือกไปทำงานต่อที่ส่วนที่อยู่หลัง THEN แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จ ( FALSE ) ก็จะไปทำงานต่อในส่วนที่อยู่หลังคำว่า ELSE
แต่ถ้าสำหรับโครงสร้างแบบ IF - THEN เป็นโครงสร้างที่ไม่มีการใช้ ELSE ดังนั้น ถ้ามีการเปรียบเทียบเงื่อนไขที่อยู่หลัง IF มีค่าเป็นจริง ก็จะไปทำส่วนที่อยู่หลัง Then แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จ ก็จะไปทำคำสั่งที่อยู่ถัดจาก IF - THEN แทน
ตัวอย่าง 3 การเขียนผังงานอ่านค่าข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ในตัวแปร A และ B แล้วทำการเปรียบเทียบในตัวแปรทั้งสอง โดยมีเงื่อนไขดังนี้
• ถ้า A มากกว่า B ให้คำนวณหาค่า A - B และเก็บผลลัพธ์ไว้ในตัวแปรชื่อ RESULT • ถ้า A น้อยกว่าหรือเท่ากับ B ให้คำนวณหาค่า A + B และเก็บผลลัพธ์ไว้ในตัวแปรชื่อ RESULT รูปที่ 3 แสดงการเขียนผังงานอ่านค่าข้อมูล
ตัวอย่าง 4 การเขียนผังงานเปรียบเทียบค่าข้อมูลที่เก็บอยู่ในตัวแปร X โดยมีเงื่อนไขดังนี้• ถ้า X > 0 ให้พิมพ์คำว่า " POSITIVE NUMBER "
• ถ้า X < 0 ให้พิมพ์คำว่า " NEGATIVE NUMBER " • ถ้า X = 0 ให้พิมพ์คำว่า " ZERO NUMBER " รูปที่ 4 แสดงการเขียนผังงานเปรียบเทียบค่าข้อมูล
โครงสร้างการทำงานแบบมีการทำงานซ้ำเป็นโครงสร้างที่มีการประมวลผลกลุ่มคำสั่งซ้ำหลายครั้ง ตามลักษณะเงื่อนไขที่กำหนด อาจเรียก การทำงานซ้ำแบบนี้ได้อีกแบบว่า การวนลูป ( Looping ) โครงสร้างแบบการทำงานซ้ำนี้จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ
• DO WHILE • DO UNTIL
DO WHILEเป็นโครงสร้างที่มีการทดสอบเงื่อนไขก่อน ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงก็จะเข้ามาทำงานในกลุ่มคำสั่งที่ต้องทำซ้ำ ซึ่งเรียกว่าการเข้าลูป หลังจากนั้นก็จะย้อนกลับไปตรวจสอบเงื่อนไขใหม่อีก ถ้าเงื่อนไขยังคงเป็นจริงอยู่ ก็ยังคงต้องทำกลุ่มคำสั่งซ้ำหรือเข้าลูปต่อไปอีก จนกระทั่งเงื่อนไขเป็นเท็จ ก็จะออกจากลูปไปทำคำสั่งถัดไปที่อยู่ถัดจาก DO WHILE หรืออาจเป็นการจบการทำงาน
แสดงโครงสร้างการทำงานซ้ำแบบ DO WHILE
DO UNTILเป็นโครงสร้างการทำงานแบบทำงานซ้ำเช่นกัน แต่มีการทำงานที่แตกต่างจาก DO WHILE คือจะมีการเข้าทำงานกลุ่มคำสั่งที่อยู่ภายในลูปก่อนอย่างน้อย 1 ครั้ง แล้วจึงจะไปทดสอบเงื่อนไข ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จก็จะมีการเข้าทำกลุ่มคำสั่งที่ต้องทำซ้ำอีก หลังจากนั้นก็จะย้อนกลับไปตรวจสอบเงื่อนไขใหม่อีก ถ้าเงื่อนไขยังคงเป็นเท็จอยู่ ก็ยังต้องทำกลุ่มคำสั่งซ้ำหรือเข้าลูปต่อไปอีก จนกระทั่งเงื่อนไขเป็นจริง จึงจะออกจากลูปไปทำคำสั่งถัดจาก UNTIL หรืออาจเป็นการจบการทำงาน
แสดงโครงสร้างการทำงานซ้ำแบบ DO UNTIL
สรุปข้อแตกต่างระหว่าง DO WHILE และ DO UNTIL มีดังนี้1. DO WHILE ในการทำงานครั้งแรกจะต้องมีการตรวจสอบเงื่อนไขก่อนทุกครั้ง ก่อนที่จะมีการเข้ลูปการทำงาน
2. DO UNTIL การทำงานครั้งแรกจะยังไม่มีการตรวจสอบเงื่อนไข แต่จะเข้าไปทำงานในลูปก่อนอย่างน้อย 1 ครั้งแล้วจึงจะไปตรวจสอบเงื่อนไข 3. DO WHILE จะมีการเข้าไปทำงานในลูปก็ต่อเมื่อตรวจสอบเงื่อนไขแล้วพบว่า เงื่อนไขเป็นจริง แต่เมื่อพบว่าเงื่อนไขเป็นเท็จ ก็จะออกจากลูปทันที 4. DO UNTIL จะมีการเข้าไปทำงานในลูปก็ต่อเมื่อตรวจสอบเงื่อนไขแล้วพบว่า เงื่อนไขเป็นเท็จ แต่เมื่อพบว่าเงื่อนไขเป็นจริง ก็จะออกจากลูปทันที
ตัวอย่าง 5 จงเขียนผังงานแสดงการเพิ่มของข้อมูลตัวเลขที่เก็บอย่ในหน่วยความจำที่แอดเดรส 1 โดยที่ค่าเริ่มต้นจาก 0 ให้ทำการเพิ่มค่าทีละ 1 เรื่อยไปจนกระทั่ง J มีค่าข้อมูลมากกว่า 100 จึงหยุดการทำงาน
ตัวอย่างนี้ เป็นตัวอย่างการทำงานแบบทำซ้ำ ซึ่งจะสามารถแสดงการเขียนได้ทั้งแบบ DO WHILE และ DO UNTIL ดังนี้ แสดงตัวอย่างการใช้ DO WHILE และ DO UNTIL |
|
วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556
วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
ซอฟต์เเวร์
ซอฟต์แวร์ (อังกฤษ: software) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง [1] หรือบางครั้งมีการสะกดว่า ซอฟท์แวร์ เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แบบเบจความสัมพันธ์กับฮาร์ดแวร์
ซอฟต์แวร์ เป็นชื่อเรียกเพื่อใช้เปรียบต่างกับฮาร์ดแวร์ ซึ่งเป็นลักษณะทางกายภาพในการเก็บและประมวลผลของซอฟต์แวร์ ในคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์จะถูกเรียกใช้งานในแรมและประมวลผลผ่านซีพียู
ประเภทของซอฟต์แวร์
การแบ่งเชิงเทคนิค อาจแบ่งซอฟต์แวร์เป็น 3 ประเภทหลักคือการแบ่งประเภทของซอฟต์แวร์แบ่งออกได้เป็นหลายแบบ เช่น
- ซอฟต์แวร์ระบบ (System/Infrastructure software) ใช้ในการทำให้คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ทำงานกับระบบคอมพิวเตอร์ได้ โดยรวมถึงระบบปฏิบัติการ ไดรเวอร์ และระบบหลักของคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ
- โปรแกรมประยุกต์ หรือซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application software) ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถดำเนินงานต่าง ๆ โดยทั่วไปเช่น โปรแกรมสำนักงาน ฐานข้อมูล คอมพิวเตอร์เกม เว็บเบราว์เซอร์ โดยโปรแกรมประยุกต์จะมีจียูไอ
- โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Tools/Utilities) ประกอบไปด้วยเครื่องมือช่วยให้โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมอื่น ๆ หรือโปรแกรมประยุกต์ได้ เครื่องมือต่าง ๆ ประกอบไปด้วย คอมไพเลอร์ อินเตอร์พรีเตอร์ ดีบักเกอร์
- การแบ่งตามรูปแบบการส่งมอบ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
- ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package software) ซอฟต์แวร์ที่มีการขาย ให้เช่า หรือให้บริการ โดยคิดค่าบริการเป็น transaction หรือ license
- ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาเงินเดือน (Outsources software development) เป็นการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานเฉพาะกับงานประเภทต่าง ๆ เฉพาะกิจกรรมไป ส่วนใหญ่ลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์นี้จะเป็นของผู้ที่ว่าจ้างให้พัฒนาขึ้น
- การแบ่งตามประเภทของการนำไปใช้งานหลัก แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ
- ซอฟต์แวร์ช่วยในการบริหารจัดการทั่วไป (Enterprise software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับการทำงานเพื่อแก้ปัญหา/จัดการทรัพยากรของ บุคคล/องค์กร เช่น ซอฟต์แวร์บัญชี ซอฟต์แวร์จัดทำเอกสาร เป็นต้น
- ซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก (Mobile applications software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานผ่านระบบปฏิบัติการพิเศษบนอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์มือถือ PDA โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ (1) ซอฟต์แวร์เพื่อสนับสนุนธุรกรรมทางธุรกิจ (Business applications) เช่น Mobile banking, Mobile payment, GPS on Mobile, Mobile applications for business process management และ(2) ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับนันทนาการและบันเทิง (Entertainment applications) ซึ่งรวมเกมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่
- ซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว (Embedded System Software) เป็นซอฟต์แวร์ซึ่งฝังอยู่ไว้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อใช้สำหรับควบคุมการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ เช่น ระบบ GPRS ระบบทำความเย็นอัจริยะ ระบบตรวจสอบย้อนกลับ เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)